วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitudes)

     เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้น เป็นเสมือนตัวกำกับความคิด การกระทำ การ
ตัดสินใจในการปฏิบัติงานทางวิทยาศาสตร์

     ลักษณะของเจตคติทางวิทยาศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. เจตคติที่เกิดจากการใช้ความรู้
1.1 กฎเกณฑ์ ทฤษฎี และหลักการต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์
1.2 การอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยถือผลที่เกิดจากการสังเกต ทดลอง ตามที่เกิดจริง โดยอาศัยข้อมูลองค์ประกอบที่เหมาะสม
2. เจตคติที่เกิดจากความรู้สึก
2.1 กิจกรรมทางวิทยาศาสตร์มุ่งที่ก่อให้เกิดความคิดใหม่ๆ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ คุณค่าสำคัญจึงอยู่ที่การสร้างทฤษฎี
2.2 ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์จะมีมากขึ้นถ้าได้รับการสนับสนุนจากบุคคล
2.3 การเป็นนักวิทยาศาสตร์ หรือการทำงานที่ต้องใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่น่าสนใจและมีคุณค่า

      คุณลักษณะของบุคคลที่มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ สรุปได้ดังนี้
1. มีเหตุผล
2. มีความอยากรู้อยากเห็น
3. มีใจกว้าง
4. มีความซื่อสัตย์และมีใจเป็นกลาง
5. มีความเพียรพยายาม
6. มีความละเอียดรอบคอบ




       ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
    วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์และมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ ฯลฯ สรุปได้ดังนี้

1. วิทยาศาสตร์ช่วยให้มีความสามารถในสังคม ในสังคมที่มีสิ่งแวดล้อมทางวิทยาศาสตร์ บุคคลที่มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นผู้มีความสามารถ และมีความสำคัญต่อการพัฒนาชุมชนและสังคม
2. วิทยาศาสตร์ช่วยแนะแนวอาชีพ วิทยาศาสตร์ก่อให้เกิดอาชีพหลายสาขา และเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
3. วิทยาศาสตร์ช่วยให้เกิดความเจริญทางร่างกายและจิตใจ การได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ อนามัย อาหาร การดำรงชีวิต จะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและมีสุขภาพแข็งแรง
4. วิทยาศาสตร์ช่วยให้เป็นผู้บริโภคที่สามารถ หมายถึง การตัดสินใจในการใช้สินค้าหรือบริการต่างๆ โดยอาศัยหลักการทางวิทยาศาสตร์
5. วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ
6. วิทยาศาสตร์ช่วยให้รู้จักใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เป็นประโยชน์
7. วิทยาศาสตร์ช่วยแก้ปัญหาต่างๆ
ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวัน การที่เราจะอยู่ได้อย่างทันโลกและทันเหตุการณ์ จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใหม่ อยู่เสมอ เพราะวิทยาศาสตร์มีประโยชน์เกี่ยวข้องกับชีวิต และเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างคุณภาพที่ดีแก่ชีวิต







ลูกโป่งไม่แตก

อุณหภูมิกับการเคลื่อนที่ของน้ำ


จุดประสงค์ :
เพื่อทำนายว่าอุณหภูมิมีผลต่อการเคลื่อนที่ของน้ำ หรือไม่ อย่างไร

อุปกรณ์ :
สีผสมอาหาร สีน้ำเงิน
ถ้วยแก้วใส 2 ใบ
ถ้วยกาแฟ 2 ใบ
เหยือกหรือ ขันน้ำจุ 1 ลิตร
น้ำแข็ง 1 ถ้วย
หลอดหยด 1 อัน

วิธีทำ :
1. ใส่น้ำแข็งลงในเหยือก แล้วใส่น้ำลงไปจนเต็มเหยือก ทิ้งไว้ ประมาณ 5 นาที
2. เทน้ำเย็นจาก ข้อ 1 ใส่ถ้วยกาแฟใบหนึ่งประมาณ 1 ใน 3 ของถ้วย ผสมสีลงในน้ำในข้อ 2 ให้ได้สีน้ำเงินเข้ม
3. ใส่น้ำอุ่นค่อนข้างร้อนลงในแก้วใบ 1 ประมาณ 2 ใน 3 ของแก้ว แล้วหยดน้ำสีเย็นลงในน้ำร้อน สังเกตลักษณะของน้ำสี
4. ใส่น้ำอุ่นอุณหภูมิพอๆ กับ ข้อ 4 ในถ้วยกาแฟ 1 ใน 3 ถ้วย แล้ว ผสมสีลงในน้ำอุ่นจนได้สีน้ำเงินเข้ม
5. ใส่น้ำเย็นจาก ข้อ 1 ในแก้วอีกใบหนึ่งประมาณ 2 ใน 3 ของแก้ว แล้วหยดน้ำสีอุ่น ลงไปในน้ำเย็น สังเกตลักษณะของน้ำสี

คำถาม :
- เมื่อหยดน้ำสีเย็น ลงในน้ำร้อน น้ำสีที่ใส่ลงไปมีลักษณะอย่างไร
- เมื่อหยดน้ำสีร้อน ลงในน้ำเย็น น้ำสีที่ใส่ลงไปมีลักษณะอย่างไร เหมือนหรือต่างกับน้ำในแก้วใบแรก

สำหรับครู
จากการทดลอง จะเห็นได้ว่า น้ำสีร้อน ลอยในน้ำเย็น และน้ำสีเย็นจมลงในน้ำร้อน ทั้งนี้เพราะน้ำเย็นรวมตัวกันแน่นกว่าน้ำร้อนซึ่งขยายตัว ทำให้หยดน้ำสีเย็น หนาแน่นกว่าหยดน้ำสีร้อน




บรรณานุกรม
Van Cleave's Janice.1991. Earth Science for Every Kid: 101 Easy Experiments that really Work. USA: John Wiley and Son Inc.




ลูกกลมลอยน้ำ


จุดประสงค์ :
เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนุกและช่วยความเข้าใจในเรื่องการ ลอยตัวของสาร

อุปกรณ์ :
ขวดแก้ว หรือพลาสติกใส แบน
กรวยพลาสติก
แอลกอฮอล์
น้ำมันพืช
สีผสมอาหาร
น้ำ

วิธีทำ :
1. ใส่น้ำสะอาดลงในขวดประมาณครึ่งขวดแล้วหยดสีผสม อาหารลงไป 2-3 หยด เขย่าให้เข้ากัน
2. ใส่น้ำมันพืชลงในขวดประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ โดยใช้กรวยช่วย
3. ใส่แอลกอฮอล์ในขวดโดยใส่ทับลงไปบนชั้นของน้ำมัน สังเกต สิ่งที่เกิดขึ้น ว่าน้ำมันจะมีลักษณะอย่างไร
4. ค่อยๆ เติมแอลกอฮอล์ลงไป จนชั้นของน้ำมันกลายเป็นลูก กลมลอยอยู่กลางน้ำสี จึงหยุดเติม


คำถาม :
- เมื่อเติมน้ำมันพืชลงไป น้ำมันพืชไปอยู่ที่ใด เพราะเหตุใด
- เมื่อเติมแอลกอฮอล์กับน้ำมันพืช มีอะไรเกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นมีลักษณะอย่างไร
- น้ำกับแอลกอฮอล์ ผสมรวมกันได้หรือไม่

สำหรับครู
เมื่อเติมแอลกอฮอล์ลงไปบนน้ำมันพืช แอลกอฮอล์รวมกับน้ำได้และทำให้น้ำเบาขึ้น หรือจริง ๆ แล้วคือ มีความหนาแน่นน้อยลง น้ำที่ถูกผสมจึงลอยตัวขึ้นดันชั้นน้ำมัน ทำให้น้ำมัน ซึ่งขณะนี้หนักกว่าน้ำที่ผสมกับแอลกอฮอล์ จมลงในส่วนที่เป็นน้ำผสมแอลกอฮอล์ จากการที่น้ำมันถูกผลักดันทุกทิศทางด้วยแรงเท่าๆ กัน ทำให้น้ำมันมีลักษณะเป็นลูกกลม ดังที่เห็น



น้ำพุ


จุดประสงค์ :


เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงเมื่อสารทำปฏิกริยากัน



อุปกรณ์ :


ขวดน้ำอัดลมแก้วหรือพลาสติก ขนาด 1 ลิตร 1 ใบ
จุกคอร์คเจาะรู 1 รู 1 จุก
ท่อพลาสติกขนาดเท่ารูของจุกคอร์ค
ภาชนะสำหรับผสมสารขนาดใหญ่ 1 ใบ
ที่คนสาร
น้ำส้มสายชู
โซดาปิ้งขนมปัง (โซเดียมไบคาร์บอนเนต)
น้ำ



วิธีทำ :


1. ผสมน้ำและน้ำส้มสายชู อย่างละเท่าๆ กัน (ประมาณอย่างละ ประมาณ 40 นาที) ในชามสำหรับผสมสาร คนให้เข้ากัน
2. เทสารที่ผสมแล้วลงในขวดประมาณ 3 ใบ 4 ขวด
3. สอดท่อพลาสติกผ่านจุดคอร์คปิดจุดขวดให้สนิท เลื่อนท่อพลาสติก ลงไปให้มากที่สุด หรือเกือบถึงก้นขวด
4. ปูกระดาษทิชชู แล้วตักโซดาปิ้งขนมปังใส่ลงกลางกระดาษทิชชูม้วน กระดาษ แล้วปิดหัวท้ายให้เหมือนห่อท๊อฟฟี่
5. หาบริเวณทดลองที่เปียกน้ำได้ เช่น อ่างล้างมือในห้องทดลอง หรือ นอกห้องเรียนที่เปียกได้
6. ใส่ห่อโซดาปิ้งขนมปังลงในขวดที่ใส่น้ำผสมน้ำส้มสายชูแล้วรีบปิดจุก ให้แน่น
7. ออกมายืนห่างๆ และสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น



คำถาม :


- นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้างจากการทดลอง
- จากความรู้เดิม น้ำส้มสายชู มีสมบัติเป็นกรดหรือเบส
- ให้ทายว่า โซดาปิ้งขนมปัง มีสมบัติเป็น กรด หรือเบส หรือ เกลือ
- นักเรียนจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ว่าอย่างไร



สำหรับครู


ครูอาจถามนักเรียนถึงขนมปังปอนด์ ที่รับประทานว่านักเรียน เคยสังเกตหรือไม่ว่า มีรูพรุนทั่วไป ให้นักเรียนรู้ว่า รูเหล่านั้นมาจากฟองแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นผลมาจากสารเคมี กรดกับเบส ซึ่งเป็นส่วนผสมของขนมปัง ทำปฏิกริยากันได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ทำให้เนื้อขนมมีช่องว่างมีลักษณะเป็นรูพรุน เรียกได้ว่าทำให้เนื้อขนมโปร่งเบา
ในการทดลองนี้ เมื่อน้ำส้มสายชูซึ่งมีสมบัติเป็นกรด ทำปฏิกริยากับโซดาปิ้งขนมปัง (โซเดียม ไบคาร์บอนเนต) ซึ่งมีสมบัติเป็นเกลือเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้น แล้วแก๊สนี้ไปแทนที่น้ำ ดันให้น้ำล้นออกทางท่อพลาสติก ถ้าเกิดเร็วๆ ก็จะมีลักษณะเหมือนน้ำพุ




จดหมายลับ


จุดประสงค์ :
สังเกตและสรุปได้ว่าผลของความร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี

อุปกรณ์ :
น้ำมะนาว
เทียนไข
ไม้จิ้มฟัน
กระดาษขาว
ไม้ขีดไฟ

วิธีทำ :
1. ใช้ไม้จิ้มฟัน จุ่มน้ำมะนาวที่คั้นสดๆ แล้วเขียนข้อความลงในกระดาษขาวตามต้องการ
2. ทิ้งไว้ให้แห้ง สักครู่ สังเกตบนแผ่นกระดาษว่ามีตัวหนังสือปรากฏหรือไม่
3. ส่งกระดาษที่เขียนแล้วนี้ไปให้เพื่อน ถ้าเพื่อนอยากทราบข้อความหรือสิ่งที่อยู่ในกระดาษ ให้ลนไฟพอให้กระดาษได้รับ ความร้อน แต่อย่าให้ใกล้ไฟจนไหม้ (อาจเขียนหลายๆ แผ่น แล้วให้เพื่อนหาวิธีอ่านจดหมายให้ได้ อาจนำไปผึ่งแดด หรือฉีดน้ำให้ชื้น ถ้าไม่ได้จริงค่อยเสนอแนะวิธี)

คำถาม :
- เมื่อเขียนโดยใช้น้ำมะนาวแทนหมึก ปรากฏสิ่งที่เขียนให้เห็นหรือไม่
- เมื่อส่งจดหมายให้เพื่อน แล้วยังไม่บอกวิธีการอ่าน เพื่อนของนักเรียนทำได้ถูกวิธีหรือไม่
- อะไรทำให้ตัวหนังสือปรากฏออกมา
- การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเรียกว่าอะไร มีความสำคัญอย่างไร

สำหรับครู
เมื่อเขียนหนังสือด้วยน้ำหมึกมะนาว (น้ำมะนาว) แล้วทิ้งไว้จนแห้ง ตัวหนังสือหรือสิ่งที่เขียนจะหายไป แต่เมื่อนำกระดาษไปลนไฟ จนน้ำมะนาวมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงทางเคมี จะปรากฏสิ่งที่เขียนเป็นรอยไหม้เกรียมแต่กระดาษจะยังไม่ไหม้ เพราะน้ำมะนาวเปลี่ยนแปลงที่อุณหภูมิต่ำกว่ากระดาษ
จดหมายลับนี้อาจใช้สารละลายอื่นเขียนได้อีก เช่น น้ำส้ม น้ำนม น้ำส้มสายชู




บรรณานุกรม
Johnson, M.,Mc Pherson J.R. and Ward A. 1992. The Usborne Book of Science Fun. England: Usborne Publishing Ltd.
Mandell,M.1989. Sinple Science Experiments With Everyday Material. USA. Sterling Publishing Co.,Inc.




บรรณานุกรม
Prentice Hall. 1994. Integrated Science Activity Book. USA: Simon and Schuster.




เทียนดับเพราะอากาศจริงหรือ

 



จุดประสงค์ :
เพื่อศึกษาว่า เมื่อเกิดการเผาไหม้ อากาศบริเวณนั้นถูกนำไปใช้ จนหมด หรือไม่

อุปกรณ์ :
เทียนไข
ดินน้ำมัน
อ่างน้ำ
ขวดแก้วปากกว้างสูงกว่าอ่างอย่างน้อย 1 เท่า
ไม้ขีดไฟ

วิธีทำ :
1. ตั้งเทียนไข ในจาน แล้วตั้งจานลงในอ่างที่มีน้ำประมาณ 2 ใน 3 ของอ่าง ให้เทียนไขสูงพ้นอ่างประมาณครึ่งแท่ง
2. จุดเทียนไข แล้วครอบด้วยขวดแก้วใช้ดินน้ำมันหมุนปากขวดให้สูงกว่าพื้นอ่างน้ำประมาณ 2 cm
3. ทำเครื่องหมายระดับน้ำในขวดไว้
4. ขณะที่เทียนไขยังเผาไหม้ ให้สังเกต ระดับน้ำในขวดด้วย
5. เมื่อเทียนดับ สังเกตระดับน้ำในขวด

คำถาม :
- ขณะเทียนไขเผาไหม้ น้ำในขวดมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร
- เมื่อเทียนดับระดับน้ำในขวดเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไร
- ถ้าระดับน้ำในขวดเปลี่ยนแปลง เป็นเพราะเหตุใด
- นักเรียนจะสรุปการเปลี่ยนแปลงของการทดลองนี้ได้ว่าอย่างไร

สำหรับครู
การเผาไหม้ทุกอย่างต้องการอากาศ เมื่อเทียนมีการเผาไหม้ อากาศในขวดถูกใช้ไป อากาศส่วนที่ถูกใช้คือแก๊สออกซิเจนเท่านั้น ซึ่งปริมาณของออกซิเจนจะมีประมาณ 1 ใน 3 ของอากาศทั้งหมด เมื่อการเผาไหม้เทียนใช้ออกซิเจนไปจึงเกิดที่ว่างขึ้นในขวด อากาศภายนอกจึงดันให้น้ำในอ่างเข้าไปแทนที่ว่างในขวด ระดับน้ำในขวดจึงสูงขึ้น




บรรณานุกรม
Walpole, B 1994. 175 Science Experiments to Amuse and Amaze Your Friends. USA. Random House









จุดประสงค์ :
เพื่อสร้างจรวดให้บินได้

อุปกรณ์ :
ขวดน้ำอัดลมพลาสติกขนาด 2 ลิตร
กระดาษแข็งอย่างขวา
กรรไกร
เทปกาว
จุกคอร์ก
ฆ้อน
ตะปู
กรวย
น้ำ
ที่สูบลมจักรยานและเข็มที่มีรูทะลุ 2 ข้าง

วิธีทำ :
1. ใช้กรรไกรตัดกระดาษแข็งให้เป็นปีกจรวด 4 ชิ้น เจียนให้เข้ากับรูปขวด
2. ติดปีกเข้ากับขวดด้วยเทปกาว
3. เจาะรูจุกคอร์กด้วยฆ้อน และตะปูให้เป็นรูเล็กๆ ตรงกลางจุกคอร์ก รูนี้จะต้องมีขนาดพอดีกับเข็มที่จะใส่ที่ปลายเครื่องสูบลม
4. ใส่น้ำในขวดประมาณ 1 ใน 4 ของขวด แล้วปิดจุดคคอร์กให้แน่น
5. นำจรวดออกไปข้างนอกในที่กว้างโล่ง
6. แทงเข็มเข้าที่ปลายท่อเครื่องสูบลมและให้เข้าไปรูจุกคอร์กด้วย
7. ตั้งจรวดให้ปากขวดคว่ำลง (ดังรูป) จัดสายยางให้เครื่องสูบลมอยู่ห่างออกมาจากตัวจรวด
8. สูบลมแรงๆ เข้าไปในขวดประมาณ 10 ครั้ง สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น ลองใส่น้ำในขวดในปริมาณต่างๆกัน บันทึกผลเพื่อดูว่าปริมาณน้ำเท่าไรจึงจะดีสุด

คำถาม :
- มีอะไรเกิดขึ้นเมื่ออัดลมเข้าไปในขวด ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
- ถ้าใส่น้ำในขวดให้ปริมาณต่างออกไป จะได้ผลต่างกันหรือไม่
- ปริมาณน้ำเท่าใดจึงจะได้ผลดีที่สุด

สำหรับครู
เมื่อมีแรงกริยากระทำต่อสิ่งใด จะเกิดแรงปฏิกริยา (ตรงข้าม) เท่ากันโต้กลับมา ไม่ว่าเราจะดึงหรือผลักสิ่งใดก็จะเกิดการดึงหรือผลักกลับมาด้วยแรงเท่ากัน ข้อความดังกล่าวเปรียบเทียบกับจรวดของนักเรียนได้อย่างไร
ในอวกาศ เมื่อไม่มีอากาศสำหรับต้านทาน เครื่องยนต์ภายในจรวด ปล่อยแก๊สให้พุ่ง ออกไปทางท้าย ตัวจรวดพุ่งไปข้างหน้าตรงข้ามกับทิศทางที่แก๊สพุ่งออกไป

ทราบไหมว่า

- จรวดเคลื่อนที่ในอวกาศ หรือสูญญากาศได้ดีกว่าในอากาศ
- จรวด 2 ตัวใหญ่ ส่งยานอากาศสเปสซีทเตอร์ ขึ้นไปในอากาศชั้นบนสูงขึ้นไปมีขนาดจรวดสูงถึง 45 เมตร กว้าง 4 เมตร




บรรณานุกรม
Hann, Judith. 1991. How Science Works. U.S.A.:The Reader's Digest Association, Inc.
Wood, Rabert W. 1997. Mechanics Fundamentals Fustastic Science Activities for Kids. U.S.A.: Mc Graw Hill Co., Inc









จุดประสงค์ :
เพื่อทดสอบว่าอากาศต้องการที่อยู่

อุปกรณ์ :
กรวยพลาสติก 1 อัน
ขวดปากแคบที่กรวยลงได้ 1 ใบ
เทปกาว
น้ำ

วิธีทำ :
1. สวมกรวยเข้ากับปากขวดเปล่า แล้วหุ้มรอบปากขวดให้ติด กับกรวย โดยไม่ได้มีช่องว่างระหว่างขวดกับกรวยเลย
2. เทน้ำลงในกรวย สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
3. ดึงเทปกาวออก สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น

คำถาม :
- เมื่อปิดเทปกาวไม่ให้เกิดช่องระหว่างขวดและกรวย น้ำในกรวยไหลลงในขวดหรือไม่ เพราะเหตุใด
- เมื่อดึงเทปกาวออก น้ำไหลลงขวดได้อย่างไร

สำหรับครู
เมื่อเทน้ำลงในกรวย น้ำจะค้างอยู่ในกรวย ไม่ลงไปในขวด ทั้งนี้เพราะ ขวดเปล่ามีอากาศอยู่เต็ม น้ำจึงลงไปไม่ได้ แต่ถ้าดึงเทปกาวออก เกิดช่อง ว่างระหว่างขวดกับกรวย น้ำในกรวยหนักกว่าอากาศจะดันอากาศลงไป อากาศเมื่อ ถูกกดหรือดันก็จะออกไปตามช่องว่าง น้ำจึงเข้าไปในขวดได้




บรรณานุกรม
Mandel,M.1989. Sinple Science Experiments With Everyday Material. USA. Sterling Publishing Co.,Inc