ชื่อ : ลอร์ด เคลวิน (Lord Kelvin)
ประวัติ : นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และนักประดิษฐ์ชาวอังกฤษ เกิด ค.ศ. 1824 ที่เมืองเบลฟาสต์ ตาย ค.ศ. 1907 รวมอายุ 83 ปี
ผลงานที่สำคัญ : ประดิษฐ์เครื่องหยั่งทะเลแบบใหม่ ประดิษฐ์กัลวานอมิเตอร์ แบบกระจกสำหรับใช้ในการโทรเลข ประดิษฐ์โทรเลขแบบไซฟอน สามารถใช้บันทึกข่าวสารลงไปทันที ประดิษฐ์เข็มทิศเดินเรือ แบบใหม่ ค้นพบมาตราสัมบูรณ์ของอุณหภูมิ
ชื่อ : กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)
ประวัติ : นักวิทยาศาสตร์ และนักปราชญ์ ชาวอิตาลี เกิด ค.ศ. 1564 ที่เมืองปิซา ประเทศ อิตาลี ตาย ค.ศ. 1642 รวมอายุ 78 ปี
ผลงานสำคัญ : พบกฎการแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกา ประดิษฐ์เครื่องมือจับการเต้นของชีพจร พบเครื่องชั่งไฮโดรสแตติก พบว่า วัตถุ 2 ชนิดที่มีน้ำหนักต่างกัน แต่ขนาดและรูปร่างเหมือนกัน เมื่อปล่อยลงมาจากที่สูงจะตกลงมาถึงพื้นดินพร้อมกัน ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์แบบหักเห ที่มีกำลังขยายมากถึง 33 เท่า พบว่า ผิวของดวงจันทร์ขรุขระ พบว่า ทางช้างเผือกประกอบด้วยดาวจำนวนมาก พบดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี พบจุดดับบนดวงอาทิตย์ เชื่อว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาล หนังสือเล่มสุดท้ายเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ใหม่ ซึ่งเป็นการวางหลักไว้ จนนิวตันสามารถนำไปวางเป็นกฎแห่งการเคลื่อนที่ ซึ่งใช้กันมาจนทุกวันนี้
ชื่อ : เซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Niwton)
ประวัติ : นักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ และนักปรัชญา เกิด ค.ศ. 1642 ที่ลินคอล์นเคาน์ตี้ ประเทศอังกฤษ ตาย ค.ศ. 1727 อายุ 85 ปี
ผลงานที่สำคัญ : คิดทฤษฎีไบโนเมียลได้ คิดฟลักเซียลได้สำเร็จ ซึ่งต่อมาเรียกใหม่ว่า กฎเกณฑ์ในวิชาอินทีกราลแคลคูลัส สร้างกล้องโทรทัศน์แบบสะท้อนแสง พบแรงโน้มถ่วงของโลก และความโน้มถ่วงของจักรวาล และตั้งกฎของความโน้มถ่วง (Law of Gravitation) พบว่า ปริซึมสามารถแยกแสงจากดวงอาทิตย์ได้เป็น 7 สี คือ แดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน คราม และม่วง พบกฎการเคลื่อนที่
ชื่อ : เจมส์ วัตต์ (James Watt)
ประวัติ : วิศวกร และนักประดิษฐ์ชาวสกอต เกิด ค.ศ. 1736 ตาย ค.ศ. 1819 รวมอายุ 83 ปี
ผลงานที่สำคัญ : เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องจักไอน้ำ สำเร็จเป็นคนแรก
ชื่อ : เบนจามิน แฟรงคลิน (Benjamin Franklin)
ประวัติ : รัฐบุรุษ นักเขียน และนักวิทยาศาสตร์ เกิด ค.ศ. 1706 ที่เมือบอสตัน รัฐแมสซาจูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ตาย ค.ศ. 1790 รวมอายุ 84 ปี
ผลงานที่สำคัญ : ศึกษาหาความจริงเกี่ยวกับไฟฟ้า ในอากาศ พบประจุไฟฟ้า ในอากาศ และพบว่าไฟฟ้าในอากาศ ทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เป็นผู้แนะนำให้รู้จักใช้สายล่อฟ้า ป้องกันฟ้าผ่า
ชื่อ : เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ (Edward Jenner)
ประวัติ : นายแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ ชาวอังกฤษ เกิด ค.ศ. 1749 ที่บาร์กลีย์ มณฑลกลอสเตอร์เชียร์ ตาย ค.ศ. 1823 รวมอายุ 74 ปี
ผลงานที่สำคัญ : ค้นพบวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ
ชื่อ : เซอร์ฮัมฟรีย์ เดวี (Sir Humphry Davy)
ประวัติ : นักเคมีชาวอังกฤษ เกิด ค.ศ. 1778 ที่เมืองแพนซานช์ แคว้นคอร์นิชแมน ตาย ค.ศ. 1829 ที่เมืองเจนีวา รวมอายุ 56 ปี
ผลงานที่สำคัญ : พบก๊าซไตรัสออไซด์ สำหรับใช้เป็นยาสลบ เพื่อช่วยในการผ่าตัด ค้นพบธรรมชาติของความร้อน ค้นพบการแยกน้ำด้วยไฟฟ้า จะแยกน้ำออกเป็นก๊าซสองชนิด คือ ไฮโดรเจนและออกซิเจน ค้นพบธาตุโซเดียม และโพแทสเซียม และธาตุอื่นอีก 10 ชนิด ประดิษฐ์ตะเกียงนิรภัย (ตะเกียงเดวี : Davy lamp) สำหรับใช้ในเหมืองถ่านหิน
ชื่อ : ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michael Faraday)
ประวัติ : นักเคมี และนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ เกิด ค.ศ. 1791 ที่เมืองเซอร์เรย์ ตาย ค.ศ. 1867 รวมอายุ 76 ปี
ผลงานที่สำคัญ : พิสูจน์ว่า กระแสไฟฟ้า สามารถผลิตได้จากแม่เหล็กไฟฟ้า ประดิษฐ์ไดนาโม ศึกษากระบวนการที่ผ่านกระแสไฟฟ้าลงไปในของเหลวเพื่อชุบโลหะ ค้นพบกฎการแยกสลายด้วยไฟฟ้าของฟาราเดย์ (Faraday's law of electrolysis) ค้นพบกฎเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้าหลายอย่าง
ชื่อ : ชาลส์ กู๊ดเยียร์ (Charles Goodyear)
ประวัติ : นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน เกิด ค.ศ. 1800 ที่มลรัฐคอนเนตทิคัต สหรัฐอเมริกา ตาย ค.ศ. 1860 รวมอายุได้ 60 ปี
ผลงานที่สำคัญ : ประดิษฐ์ยางให้มีคุณภาพดีขึ้น โดยผสมกำมะถัน และใช้ความร้อนสูง (Vulcanization)
ชื่อ : ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin)
ประวัติ : นักธรรมชาติวิทยา ชาวอังกฤษ เกิด ค.ศ. 1809 ที่ชรูว์สเบอรี่ ประเทศอังกฤษ ตาย ค.ศ. 1882 รวมอายุ 73 ปี
ผลงานที่สำคัญ : เป็นผู้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการ ของสิ่งมีชีวิตด้วยหลักการคัดเลือกโดยธรรมชาติ
ชื่อ : หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur)
ประวัติ : นักเคมีชาวฝรั่งเศส เกิด ค.ศ. 1822 ประเทศฝรั่งเศส ตาย ค.ศ. 1895 รวมอายุ 73 ปี
ผลงานที่สำคัญ : ค้นพบสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า หรือที่เรียกว่า จุลินทรีย์ ค้นพบการฆ่าเชื้อแบบปาสเตอร์ (Pasteuris ation) ค้นพบวิธีการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันพิษสุนัขบ้า แก้โรคไหมซึ่งเป็นตัวทำลายตัวไหม และอุตสาหกรรมไหมสำเร็จ ค้นคว้าโรคแอนแทรกศ์สำเร็จ ค้นคว้าโรคอหิวาต์ไก่สำเร็จ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น